ศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ ‘สินมั่นคงประกันภัย’ เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ได้ 3 ช่องทาง

ศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ ‘สินมั่นคงประกันภัย’ เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ได้ 3 ช่องทาง

ศาลล้มละลายกลางสั่ง ฟื้นฟูกิจการ ‘สินมั่นคงประกันภัย’ กรณีประสบปัญหาประกันโควิด เจอ จ่าย จบ  เจ้าหนี้ ผู้เอาประกันยื่นขอรับชำระหนี้ได้ 3 ช่องทาง วันนี้ 20 ตุลาคม 2565 คืบหน้าคำสั่งฟื้นฟูกิจการของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) จากกรณีบริษัทในฐานะลูกหนี้ขอยื่นให้ศาลพิจารณา ล่าสุดศาลล้มละลายกลาง พิจารณาเห็นชอบให้สินมั่นคงดำเนินกระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว

ศาลเห็นว่า บริษัทสินมั่นคงฯ มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้เจ้าหนี้ 

หลายคนรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท กิจการของลูกหนี้ยังมีรายได้ ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยสุจริต ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ขาดคุณสมบัติ ในการเป็นผู้ทำแผน จึงมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ขั้นตอนการยื่นขอรับชำรหนี้ของเจ้าหนี้สินมั่นคงประกันภัย

เจ้าหนี้ซึ่งมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กองฟื้นฟูกิจการขอลูกหนี้ กรมบังคับคดี ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ประกาศคำสั่งลงในราชกิจจานุเบกษา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดลงประกาศคำสั่งในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 ธันวาคม 2565 3 ช่องทาง ได้แก่

1.ยื่นคำขอรับชำระหนี้ออนไลน์ทางเว็บไซต์กรมบังคับคดี 

2.ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กองฟื้นฟูกิจการของลูกทนี้ กรมบังคับคดีหรือสำนักงานบังคับคคีทั่วประเทศ

3.ยื่นคำขอรับชำระหนี้ผ่านบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขาทั่วประเทศ

จากข้อมูลของ กลต ระบุว่า การฟื้นฟูกิจการไม่ใช่การล้มละลายหรือการที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การฟื้นฟูกิจการจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการไปยังศาลล้มละลายกลาง คือ กฎหมายกำหนดให้ทั้งเจ้าหนี้หรือลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ เมื่อเข้าเงื่อนไขดังนี้ คือ

(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือลูกหนี้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ (inability to pay)

(2) เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีของธุรกิจขนาดใหญ่

กรณีของสินมั่นคงเข้าข้อ 2  เป็นการเปิดโอกาสให้มีการเข้าไปฟื้นฟูกิจการเพื่อรักษาความอยู่รอดของธุรกิจได้เร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม คือ เมื่อพบว่าลูกหนี้ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ เช่นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด และเมื่อได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชำระหนี้ หรือลูกหนี้มีกระแสเงินสดไม่พอชำระหนี้ เป็นต้น เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ก็สามารถยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลได้ โดยไม่ต้องรอจนถึงกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแบบเดิม

เมื่อศาลสั่งรับคำขอฟื้นฟูกิจการ สภาวะการพัก การชำระหนี้หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า automatic stay เกิดขึ้นทันทีนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผน หรือวันที่ดำเนินการสำเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ หรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

เปรียบเทียบ ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM ของแต่ละธนาคาร แบบไหนคุ้ม

เช็กค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM แต่ละธนาคาร มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ ธนาคารแห่งไหนเสียค่าธรรมเนียมแพงหรือไม่เสียค่าธรรมเนียมเลยบ้าง เตรียมพร้อมฝากเงินสดยืนยันตัวตนด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต วันที่ 15 พฤศจิกายน2565 เป็นต้นไป

เทียบชัด ค่าธรรมเนียมบัตรเดบิต ATM ของทั้ง 10 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทยธนชาต, ธนาคารยูโอบี, ธนาคารเกียรตินาคินภัทร, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย และธนาคารออมสิน มีค่าธรรมเนียมแรกเข้ารายปีเท่าไหร่

ลูกค้าธนาคารเตรียมวางแผนใช้บัตรเดบิต สำหรับการฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ พร้อมยืนยันตัวตนผ่านบัตรเดบิต-บัตรเครดิต ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป มาดูกันว่าบัตรเดบิตแต่ละธนาคารมีค่าธรรมเนียมแตกต่างอย่างไรบ้าง

1. ธนาคารกรุงไทย KTB สำหรับบัตรเดบิตเอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงไทย KTB บัตรเดบิตกรุงไทย แคร์ มีค่าธรรมเนียมรายปีในบัตรทั่วไป 599 บาท และค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท

2. ธนาคารกสิกร K BANK ในส่วนของบัตรเดบิต K MAX+ จากธนาคารกสิการ จะมีค่าธรรมเนียมรายปี 250 บาท และค่าธรรมเนียมแรกเข้าหรือออกบัตรใหม่จำนวน 50 บาท ไม่คิดค่าธรรมเนียม หากถอนเงินที่เครื่องเอทีเอ็มธนาคารกสิกรไทย นอกจากนี้ยังฟรีค่าธรรมเนียม 2 รายการแรกภายในเดือนเดียวกัน แต่ตั้งแต่รายการที่ 3 ภายในเดือนเดียวกันรายการละ 10 บาททุกรายการ (ยกเว้นรายการโอนเงินให้ผู้รับที่มีบัญชีธนาคารอื่น)

Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่า