90 ปี วันเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย 24 มิถุนายน 2475 สรุปเหตุการณ์สำคัญการปฏิวัติสยาม โดยกลุ่มคณะราษฎร วันนี้วันอะไร ศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2565 วันเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย ครบรอบ 90 ปี เหตุการณ์การปฏิวัติสยาม โดยกลุ่ม “คณะราษฎร” (อ่านว่า ราดสะดอน) อีกหนึ่งวันสำคัญปรจำเดือนมิถุนายนปีนี้ ที่ในการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และสุดท้ายก็ได้เปลี่ยนเป็น การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา จวบจนปัจจุบัน
วันเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย ตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 7
เหตุการณ์เกิดขึ้นโดยกลุ่ม คณะราษฎร หรือสมาคมคณะราษฎร, สโมสรราษฎร์สราญรมย์ คือ กลุ่มบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อนเหตุการณ์ “การปฏิวัติสยาม” โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนี้ทั้งหมด 7 คน ได้แก่
ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศฝรั่งเศส
ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ นักเรียนวิชาทหารปืนใหญ่ ประเทศฝรั่งเศส
ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี นักเรียนวิชารัฐศาสตร์ ประเทศฝรั่งเศส
ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี นักเรียนวิชาทหารม้า ประเทศฝรั่งเศส
ตั้ว ลพานุกรม นักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
จรูญ สิงหเสนี ผู้ช่วยราชการสถานทูตสยามในประเทศฝรั่งเศส
แนบ พหลโยธิน นักเรียนวิชากฎหมาย ประเทศอังกฤษ
ซึ่งได้เริ่มต้นประชุมวางแผนปฏิวัติครั้งแรกในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ณ บ้านพักเลขที่ 9 ถนนซอเมอราร์ (Rue Du Sommerard) มีความตั้งใจที่แน่วแน่ว่าจะต้องการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ให้เป็นระบอบประชาธิปไทย ซึ่งวิธีการครั้งนี้ถูกเรียกว่า “การยึดอำนาจโดยฉับพลัน”
สรุปเหตุการณ์เริ่มต้น การปฏิวัติสยาม 2475 หลังจากที่วางแผน และรวมกลุ่มสมาชิกสำหรับปฏิบัติการยึดอำนาจโดยฉับพลัน ในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยกลุ่มคณะราษฎร ได้ออกประกาศแถลงการที่เรียกว่า “ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1” ซึ่งกล่าวถึงวัตถุประสงค์ความตั้งใจ ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการกราบบังคมทูลอัญเชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จกลับพระนคร มีใจความดังนี้
“คณะราษฎรไม่ประสงค์จะแย่งราชสมบัติแต่อย่างใด ความประสงค์อันยิ่งใหญ่ก็เพื่อที่จะมีธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จึงขอเชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทกลับคืนสู่พระนคร ทรงเป็นกษัตริย์ต่อไป โดยอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน”
จากนั้นในวันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชหัถเลขาถึงผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร โดยจะขอยกใจความตอนหนึ่งว่า
“…คณะทหารมีความปรารถนาจะเชิญให้ข้าพเจ้ากลับพระนครเป็นกษัตริย์อยู่ใต้พระธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าพเจ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกัน ทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละมัยไม่ให้ขึ้นชื่อว่าได้จลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง และความจริง ข้าพเจ้าได้คิดอยู่แล้วที่จะเปลี่ยนแปลงทำนองนี้ คือมีพระเจ้าแผ่นดินปกครองตามพระธรรมนูญ จึงยอมรับที่จะช่วยเป็นตัวเชิดเพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญโดยสะดวกฯ”
กระทั่งในวันที่ 26 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จกลับพระนคร และให้บุคคลสำคัญของคณะราษฎรเข้าเฝ้าและพระองค์ได้ทรงลงพระปรมาธิปไธยพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่คณะผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน
และต่อมาในวันที่ 27 มิถุนายน 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่หัวได้พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว สำหรับการเป็นบทบัญญัติการปกครองบ้านเมือง และได้พัฒนาไปเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยไทยจนถึงปัจจุบัน
สธ. พบผู้ป่วย โควิดโอมิครอน BA.4 และ BA.5 หลังเปิดผับบาร์
กระทรวงสาธารณสุข เผย พบผู้ป่วย โควิดโอมิครอน BA.4 – BA.5และ ยอดผู้ป่วยใน กทม. มากขึ้น หลังเปิดผับบาร์ ยันอยู่ในการคำนวณ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังจากที่มีการคลายล็อกเปิดผับบาร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้แนวโล้มการติดเชื้อของโควิด-19 ในภาพรวมของประเทศไทยนั้นยังไม่ชัดเจน
แต่ในพื้นที่กรุงเทพนั้น มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าในส่วนของ รพ.สังกัดกรมการแพทย์ 3 แห่ง คือ รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน และรพ.นพรัตนราชธานี มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เป็นไปตามคาดการณ์ว่า เมื่อมีการผ่อนคลายก็จะติดเชื้อเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในโรงเรียนด้วย เน้นย้ำความสำคัญของวัคซีนโควิด ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค คือฉีดเข็มกระตุ้นทุก 4 เดือน ส่วนเข็มกระตุ้นในเด็กนักเรียนขอให้ติดตามประกาศจากกรมควบคุมโรคอีกครั้ง
“หากตรวจ ATK ด้วยตนเองที่บ้านแล้วพบว่าติดเชื้อ ขอให้ช่วยรายงานเข้าระบบด้วย ทั้งระบบการรักษาที่บ้าน (HI) หรือเจอแจกจบ (OPD) ที่จะมีแพทย์ติดตามใน 48 ชั่วโมงแรก เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูลประเมินสถานการณ์” นพ.สมศักดิ์กล่าวและว่า
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง